DEEBOON


Sirichai Prakitwinitphan - Strategist, Creative Director

อาณาจักรมด 'How to build a great empire'

ช่วงวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา ผมได้ดูคลิปวิดีโอที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องของการเลี้ยงมด ถูกแล้ว 'มด' ที่เป็นแมลงตัวเล็กๆ และเลี้ยงมันแบบสัตว์เลี้ยงตั้งแต่จำนวนไม่กี่ตัวเพื่อรอดูพวกมันสร้างอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่...

2018
อาณาจักรมด 'How to build a great empire'

ศรัทธาดั่งฝูงมด… เมื่อนํ้าลดมดกินปลา

ท่านผู้มีเกียร์ติทั้งหลาย ผมขอแนะนำให้รู้จัก สิ่งมีชีวิตชนิดแรกของโลกใบนี้ผู้ริเริ่มเทคนิคการทำฟาร์มกสิกรรม ”มดตัดใบไม้ leaf-cutter ant” ถ้าจะมีบิดาของการทำ Organic farm ต้องยกให้พวกมันครับ

มดตัดใบไม้ (leaf-cutter ants) มหัศจรรย์อย่างไร? นอกจากความเป็นมืออาชีพทางด้านการบริหารจัดการองค์กร และทีมเวอร์คชั้นเยี่ยมที่ทุกคนรู้ดีกันอยู่แล้ว ตลอดชีวิตของมดพวกนี้จะผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองและชุมชน โดยดำรงชีวิตด้วยการตัดใบไม้เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงราในรังของมัน แล้วก็นำเชื้อราที่ได้ไปเป็นอาหารของตัวอ่อนและมดทุกตัวในรัง จึงถือว่าน่าจะเป็นสัตว์ชนิดแรกของโลกที่รู้จักเทคนิคการทำฟาร์ม

Goal # เป้าหมายของพวกมันคืออะไร?

ธรรมนูญของมดไม่ว่าสายพันธุ์ไหน ทำทุกอย่างเพื่อนำไปสู่สิ่งเดียวเหมือนกันทั้งโลกคือ to build a great empire เหมือนกับคนทำธุรกิจทุกคนในโลก ที่ต้องการสร้างกิจการของตัวเองให้มีผลประกอบการดี เพิ่มยอดขาย และเติบโตในอนาคต แต่หัวใจสำคัญที่แท้จริงของมันคือ “ความมั่นคง” leaf-cutter ant เลือกที่จะสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ที่เป็นตัวกำหนดความอยู่รอดที่แท้จริงของทุกชีวิตในรัง แทนที่จะสร้างกองทัพมดทหารที่แข็งแกร่งจำนวนมาก แล้วยกทัพออกไปแย่งชิงอาหารจากนอกรัง

มันเป็นเรื่องของ Strategy & Strength ยุทธศาสตร์การสร้างจุดแข็ง (ตามไปอ่านเลย) สร้างคุณค่าสาระจากภายใน จากจุดที่เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการทั้งหมด เป็นหัวใจของรัง ของอาณาจักร และนี่คือคุณค่าที่จะกำหนดความอยู่รอดที่แท้จริงในอนาคต

Working Process # ขั้นตอนการทำงาน

ทุกวันคืนมดทหารจะทำหน้าที่สเกาต์ Observe, Research ไม่ใช่เพื่อจะไปรบกับใคร แต่เป็นการแสวงหาทรัพยากรเป้าหมาย เมื่อเจอใบไม้สดที่มีความชื้นพอเหมาะ ทีมโปรดักชั่นมดงานจะเข้ามารับงานต่อทั้นที ใบไม้จะถูกตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้เหมาะกับ Production line ดังนั้นถ้าเราเห็นฝูงมดช่วยกันแบกซากจิ้งจกหรือใบไม้ทั้งใบไปอย่างทุลักทุเล มั้นใจได้เลยว่านั่นไม่ใช่ leaf-cutter ant อย่างแน่นอน

กระบวนการเพาะเชื้อราจะเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางของรัง เมื่อใบไม้ที่ถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆถูกลำเลียงมาถึง leaf-cutter ant จะคายของเหลวออกมาใส่ใบไม้ และเชื้อราที่เป็นอาหารของทุกชีวิตในรังจะเริ่มเติบโตขึ้น ได้รับอาหารและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ระบบการผลิตอันทรงประสิทธิภาพเริ่มขึ้นแล้ว

ขณะนี้ประเทศไทยมีพลเมืองราว 70 ล้านคนโดยประมาณ แต่อาณาจักรมดเพียงรังเดียวอาจมีพลเมืองถึง 1 ล้านตัว นั่นมากกว่าประชากรของลักเซมเบิร์ก และบรูไน รวมกัน ถ้าเปรียบเป็นโลกแห่งธุรกิจ leaf-cutter ant ใช้การสร้างและส่งมอบคุณค่าไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตัวอ่อนจำนวนมากทั้งหลาย ดูแลประคบประหงมเป็นอย่างดี ด้วย Content คุณภาพที่ผ่านขั้นตอนการผลิตที่ควบคุมเองแบบแยบคาย เพื่อส่งมอบคุณค่าเหล่านั้นโดย Feed สื่อสารตรงไปยังกลุ่มเป้าหมาย มันคือการลงทุนลงแรงเพื่อสร้างกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณภาพ ให้เติบโตเป็นฐานที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต แน่นอนว่ากระบวนการนี้ต้องใช้ทั้งความเข้าใจและเวลา แต่เราต่างรู้ดีว่าการลงทุนด้วยวิธีนี้จะสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจในระยะยาว เหมือนกับการใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ไปกับการสร้างสาธารณูปโภคอันมีค่าเช่น ถนน รถไฟฟ้า โรงเรียน โรงพยาบาล แทนการซื้อโฆษณาเพียงเพื่อแค่อยากจะบอกใครต่อใครว่า “เมืองของเราเจริญนะ”

มาถึงตรงนี้ภาพ Inbound marketing ที่โดยส่วนตัวผมเรียกมันว่า Organic Marketing ปรากฏขึ้นมาอย่างชัดเจน มันกลับมาตอบคำถามข้างต้นว่า เราเรียนรู้อะไรจากธรรมชาติ? นี่ไม่ใช่ของใหม่อะไร มันอยู่กับเรามาตั้งแต่ต้น เราจะใช้ชีวิตแบบไหน ทำธุรกิจอย่างไร โดยไม่ฝืนแรงโน้มถ่วงของโลก มันคือฟีโรโมน (pheromone) ที่ leaf-cutter ant ส่งต่อให้กัน แต่ในแง่ของ Digital Marketing ผมนิยามมันว่า “ศรัทธา”

Related Posts

View more